บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บ้านดงยาง หมู่ที่ 5 ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ผู้จัดทำ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
*************************************************************************************
บ้านดงยาง หมู่ที่ 5 ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนา มีระบบการบริหารจัดการชุมชน มีกิจกรรมในการดำเนินโครงการ คือ
๑. ระดับครัวเรือน มีกิจกรรม
– จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายของครัวเรือน
– จัดทำแผนชีวิต แผนครอบครัว
– กิจกรรม ลด ละเลิก อบายมุข
– กิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือน
– ประหยัดและออม
– ทำการเกษตรตามธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี
– เพิ่มรายได้ ทำอาชีพเสริม
– มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม
– การบริหารจัดการขยะ
๒.ระดับกลุ่ม กลุ่มองค์กร เครือข่ายในชุมชน
– จัดกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เวทีประชาคมอบรม
– จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้เกิดมีครัวเรือนตัวอย่างและกิจกรรม
– กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มทำไข่เค็ม
– ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มต่างๆในชุมชน
– สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือนและกลุ่มองค์กรเครือข่าย
๓. ระดับหมู่บ้าน
– ประเมินตัวชี้วัด ๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด
– ประเมินความสุขมวลรวม (GVH)
– รณรงค์ให้ครัวเรือนจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ลด ละ เลิกอบายมุข
– จัดระบบข้อมูลชุมชุน ค้นหาทุนชุมชน
– จัดทำแผนชุมชน แผนพึ่งตนเอง
– จัดเวทีแรกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
– บูรณาการจัดกิจกรรมต่างๆในชุมชนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กิจกรรมที่ 1 สัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนัก ในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนครอบครัวพัฒนาอย่างน้อยหมู่บ้านละ 30 ครัวเรือน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
- พิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2552-2562 เป็นต้นแบบ (บ้านพี่) และเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำนวนให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับจำนวนหมู่บ้านเป้าหมาย (บ้านน้อง) ทั้งนี้บ้านต้นแบบ(บ้านพี่) จะต้องมีลักษณะเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน (ระดับเดียวกัน หรือระดับสูงกว่า หรือมีบริบท/ลักษณะของชุมชนที่คล้ายคลังกัน) สามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ให้กับหมู่บ้านเป้าหมาย (บ้านน้อง)) การจัดทำคำสั่งแต่งตั้งทีมวิทยากรพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งให้พิจารณาคัดเลือกทีมวิทยากรจากปราชญ์ชุมชน
- กำหนดรูปแบบ วิธีการจัดสัมมนาการเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง โดยพิจารณาจากกรอบการเรียนรู้
– การสร้างความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ
– วิธีการพัฒนาหมุ่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละขั้นตอนที่กำหนด
– แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน เช่น การสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวพัฒนา กาบริหารจัดการชุมชน และการจัดการศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
– วางแผนเตรียมการเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ (บ้านพี่)
– วิธีการประเมิน 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข”หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness :GVH) มุ่งเน้นการอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญที่ต้องประเมินผล วิธีการประเมิน และกำหนดวันประเมินร่วมกัน
- จัดสัมมนาเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการปรับกรอบความคิด/กระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ
- ส่งเสริมและสนับสนุนและขับเคลื่อนกิจกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติของครอบครัวพัฒนาเป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน ครัวเรือนมีความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้ประเมิน 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข”หรือความสุขมวลรวม ของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับอยู่เย็นเป็นสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กิจกรรมที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์พัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้
ต้นแบบ
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุลสอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนครอบครัวพัฒนา 30 ครัวเรือน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
- 1. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การพัฒนาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการศึกษาดูงาน บ้านพี่
1.1 แนวคิดวิธีการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน
1.2 ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ (บ้านพี่) อย่างน้อย หมู่บ้านละ 1 วัน
1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวพัฒนาได้สรุปผลการเรียนรู้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และวางแผนนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชนต่อไป
1.4 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน บ้านน้องได้ศึกษาดูงานบ้านพี่บ้านนาสะไมย์ หมู่ที่ 13 ตำบลนาสะไมย์ ซึ่งเป็นต้นแบบเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้เรียนรู้ฐานเศรษฐกิจพอเพียง การจักสาน การทำทองเหลือง การแกะสลัก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผน เกิดความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชนต่อไป
ปัจจัยที่ทำให้การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประสบความสำเร็จ
- ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนรวม
- ครัวเรือนในหมู่บ้านมีการดำเนินกิจกรรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา การจัดการขยะ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองอยู่แล้ว เมื่อเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบแล้ว มีกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนเพิ่มขึ้น
- ประชาชนในหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะพัฒนาตนเองหลังจากได้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแล้ว หลังจากดูงานครอบครัวพัฒนาได้นำกิจกรรมที่ได้รับการอบรมนำกลับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำเกษตรผสมผสาน การจักสาน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
- หมู่บ้านมีความเข้มแข็ง มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 แห่ง และมีจุดเรียนรู้ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 จุด สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินกิจกรรมการดำรงชีวิต ตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครัวเรือนอื่นในหมู่บ้าน และนอกหมู่บ้าน
- ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ มีภาวะผู้นำ มีความเสียสละ มีการบริหารจัดการหมู่บ้านที่ดี มีความเข้มแข็ง มีความพร้อม มีความสามัคคี ในการเข้าร่วมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และขยายผลครัวเรือนต้นแบบให้ครอบคลุมทั่วทุกครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน ผู้นำ/แกนนำ ได้รับโอกาสในการเข้ารับการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ประมง เกษตร สามารถนำความรู้ที่ได้รับการต่อยอดและเผยแพร่แก่ประชาชนได้ และการสร้างความเป็นกันเองหรือสร้างความคุ้นเคย โดยเฉพาะผู้นำจะทำให้เกิดการยอมรับและนำไปสู่ความร่วมมือในการทำงาน
- หมู่บ้าน มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีกิจกรรมทางศาสนา ทำให้คนมีความรัก สามัคคีกันมากขึ้น
- การประสานงาน เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่าย ทีมงานภาคีการพัฒนาระดับตำบล/อำเภอ คนในชุมชนร่วมคิด ร่วมรู้ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อค้นหาข้อมูล รวบรวมผลงานของกลุ่ม/องค์กร และจัดทำเอกสารความรู้ในการขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น