ความเป็นมาโครงการนวัตกรรม : การน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่หมู่บ้านมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (อยู่ดี มีแฮง ฮักแพง แบ่งปัน ก้าวหน้าไปพร้อมกัน สู่ความพอเพียง (DEEKUGNA)) จังหวัดยโสธร ประจำปี 2563
*********************
- หลักการและเหตุผล
กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน จังหวัดยโสธร ได้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2552 – 2562 จำนวน 201 หมู่บ้าน จากผลการพัฒนาที่ผ่านมาพบว่า การรับรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด และสร้างการรับรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและทั่วถึงของประชาชน จังหวัดยโสธร จึงได้จัดทำโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่หมู่บ้านมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในปี 2563
2.วัตถุประสงค์
- เพื่อน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่หมู่บ้าน มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
- เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล ผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่โดดเด่น และรวบรวมปราชญ์ชุมชนที่หลากหลาย
- เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่แบบบูรณาการ บังเกิดผลเป็นรูปธรรม
3.ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
3.1 ประชุมวางแผน เตรียมการดำเนินงาน
3.2 แต่งตั้งคณะทำงานและกลไก ในการพัฒนานวัตกรรม
3.3 คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย บ้านพี่และบ้านน้อง อำเภอละ 2 หมู่บ้าน
3.4 จัดทำเครื่องมือในการพัฒนา
3.5 ประสานภาคีการพัฒนา และสร้างความรู้ความเข้าใจ
3.6 รวบรวมข้อมูล ปราชญ์ชุมชนที่โดดเด่น เป็นต้นแบบ
3.7 จัดการองค์ความรู้สู่การพัฒนาแบบพี่สอนน้อง
3.8 จัดทำฐานข้อมูล / ทำสื่อ /แอพพลิเคชั่น / ประชาสัมพันธ์
3.9 ขยายผลการพัฒนา / ติดตามประเมินผล
- คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2563
- หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านพี่)
1.1 คุณสมบัติ
1) เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดได้ประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่กรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนเป็นอันดับแรก ปี 2552 – 2562 (ก่อนปี 2563) หรือหมู่บ้านที่หน่วยงาน อื่น ๆ สนับสนุนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง โดยต้องผ่านการประเมินตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน
2) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนตามแนวทางกิจกรรม 3 สร้าง คือ สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม โดยต้องปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจน
3) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เป็นรูปธรรมและสามารถต่อยอดได้ เช่น
การยกระดับรายได้ของครัวเรือนเป้าหมาย มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาเป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
หรือสามารถเชื่อมโยงกับบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ได้
4) เป็นหมู่บ้านที่สามารถเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการชุมชนเพื่อพึ่งตนเองได้ โดยคน
ในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
5) เป็นหมู่บ้านที่เคยได้รับรางวัลดีเด่นมาแล้ว และยังคงรักษาสถานะดีเด่น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
6) การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าหมู่บ้านอื่น
๑ |
มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม ๑) ชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน ๒) มีการออมเงินในรูปแบบของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อผลิตและรูปแบบอื่น ๆ ๓) มีการปลูกพืชผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 90 ของจำนวนครัวเรือน/ทำเกษตรทฤษฎีใหม่/ไร่นาผสม/ปลูกพืชหมุนเวียน และครัวเรือนมีการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน ร้อยละ 50 ๔) มีการผลิตสินค้าอุปโภค/บริโภคใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่าย ๕) มีกลุ่ม/องค์กรในการพัฒนาชุมชนที่มีความเข้มแข็งและหลากหลาย 6) มีการบริหารจัดการขยะตามหลัก ลด การนำกลับมาใช้ใหม่ แปรสภาพ (3 R) 7) มีกิจกรรมจิตอาสา อย่างน้อย 1 กิจกรรม/เดือน 8) มีการนำเสนอผลการประเมินความสุขมวลรวมหมู่บ้าน และวิธีการพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน 9) การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าหมู่บ้านอื่น 10) มีการปฏิบัติและการเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกรมการพัฒนาชุมชน ตามหลักกิจกรรม 3 สร้าง คือ สร้างความมั่นคง ทางอาหาร สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่เป็นรูปธรรม |
||||||||||||||
๒ |
หมู่บ้านสามารถเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการชุมชนได้โดยคนในชุมชนเอง ๑) มีการจัดเวทีประชาคม มีการบันทึกการประชุม ๒) มีการกำหนดกฎระเบียบอยู่ร่วมกันของชุมชน ๓) มีการจัดเก็บ/รวบรวมข้อมูล/มีศูนย์เรียนรู้ ๔) มีแผนชุมชน กำหนดทิศทาง/เป้าหมายการพัฒนา ๕) มีการทำงานในรูปแบบของคณะกรรมการ/ผู้นำชุมชน/หัวหน้าคุ้ม/ประธานกลุ่ม/มีการมอบภารกิจชัดเจน ๗) การทำงานเป็นทีม (การต้อนรับ/การนำเสนอผลงาน/การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อกิจกรรมประกวด/ความพร้อมเพียง) |
||||||||||||||
๓ |
มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนทีเป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดได้ ๑) ชุมชน/หมู่บ้านมีความเข้าใจในการคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมฝึกอาชีพ 20 ครัวเรือน ๒) มีการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพเพิ่ม ในปี ๒๕๖3 ๓) มีปราชญ์ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จและเป็นแบบอย่าง/มีจิตอาสา ๔) มีกิจกรรมพัฒนาเป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ๕) มีรูปแบบและวิธีการขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ ๖) มีกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัดได้
|
||||||||||||||
๔ |
การยกระดับรายได้ของครัวเรือนเป้าหมาย ๑) มีกิจกรรมที่สามารถแสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเป้าหมายมีอาชีพและรายได้เพิ่ม ๒) มีการนำเสนอการใช้ประโยชน์จากแผนชุมชนมาพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ การเข้าถึงแหล่งทุน ๓) ในหมู่บ้านมีครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับตำบล ระดับอำเภอ
|
||||||||||||||
๕ |
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ๑) มีสถานที่ ๒) มีข้อมูล ๓) มีคณะกรรมการ ๔) มีระเบียบข้อบังคับ ๕) มีวิทยากร/ปราชญ์ ๕) มีฐานเรียนรู้ ๖) มีจุดเรียนรู้
1.2 มีศูนย์เรียนรู้และมีการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 มีกลุ่มอาชีพ/ กลุ่ม OTOP
2 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านน้อง) 2.๑ คุณสมบัติ ๑) เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน หรืองบจังหวัด ได้ประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่กรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนเป็นอันดับแรก ปี 2563 หรือหมู่บ้านที่หน่วยงาน อื่น ๆ สนับสนุนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง โดยต้องผ่านการประเมินตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน 2) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนตามแนวทางกิจกรรม 3 สร้าง คือ สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม โดยต้องปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจน
3) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เป็นรูปธรรมและสามารถต่อยอดได้ เช่น 4) เป็นหมู่บ้านที่สามารถเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการชุมชน เพื่อพึ่งตนเองได้ โดยคน 5) การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าหมู่บ้านอื่น
|