ชื่อองค์ความรู้ การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้จัดทำ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไทยเจริญ
สถานที่ บ้านโนนบ้านใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
“…เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะ การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่ง ในการนำวิชาการ ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความ รอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดี ”
บ้านโนนบ้านใหม่ เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาก่อนแล้ว และในการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไทยเจริญ คัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
วิถีชีวิตของบ้านโนนบ้านใหม่ นั้นก็ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว โดยการลดรายจ่าย เช่น การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน , การเพิ่มรายได้ เช่น การมีอาชีพเสริมต่าง ๆ, การออม เช่น การมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต , การเรียนรู้โดยการเรียนรู้จากคนในชุมชนและภายนอกชุมชน , เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติโดยการปลูกต้นไม้ในสวน,หัวไร่ปลายนาและป่าชุมชน มีการจัดระเบียบสภาพแวดล้อมของชุมชน และการช่วยเหลือของคนในชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้สมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
การขับเคลื่อนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโนนบ้านใหม่นั้น ใช้แบบประเมินตัวชี้วัด 6×2 (การเพิ่มรายรายได้ ลดรายจ่าย ประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีย์) และมีการคัดเลือกครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละตัวชี้วัด การประเมินตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และการประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน (GVH) ซึ่งบ้านกาเกาะ นั้นมีแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
แหล่งเรียนรู้ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด คือ นายปรารถนา กุณรักษ์
กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ คือ นายสุทัด สิงห์โยค
กลุ่มโรงเรียนชาวนาเกษตรอินทรีย์ คือ นายสุทัด สิงห์โยค
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1) จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการ
2) กำหนดเครื่องมือในการทำงาน
3) จัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้าน
4) การจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่ายของครัวเรือน
5) วิเคราะห์-สังเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือน ประจำเดือน
6) การขับเคลื่อนกิจกรรม 6×2 (การเพิ่มรายรายได้ ลดรายจ่าย ประหยัด การเรียนรู้
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีย์)
1) ดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหาตามข้อมูลบัญชีครัวเรือน และการส่งเสริมอาชีพตามทางเลือก
2) เวทีสรุปบทเรียน
3) ติดตามสนับสนุนและประเมินผล
แก่นความรู้ (Core Competencies)
1) ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
2) ปรึกษาหารือ
3) หาข้อยุติ
4) ชี้แจงการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้รับทราบ
5) สร้างความพึงพอใจ
6) งานสัมฤทธิ์ผล
กลยุทธ์ในการทำงาน
ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
ก่อนการดำเนินการ ต้องเตรียมข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช. 2 ค บัญชีรายรับ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม ค้นหาศักยภาพของหมู่บ้าน เพื่อนำเสนอข้อมูลภาพรวมของหมู่บ้านที่น่าสนใจ ในการเปิดเวทีประชาคม เพื่อสร้างความตระหนัก พร้อมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง ปัญหาความเป็นอยู่ของแต่ละครัวเรือน การรับทราบข้อมูลในทุก ๆ ด้านเพื่อการเตรียมการในการปฏิบัติงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง หากมีข้อมูลมาก รู้จักคนมาก รู้จักวัฒนธรรม วิถีชีวิตเข้าใจสภาพของชุมชนอย่างชัดเจน การตัดสินใจเพื่อกระทำการใด ๆ ย่อมถูกต้องและเกิดการยอมรับ ไม่มีอุปสรรคในการทำงาน
การศึกษาปัญหา ด้วยการรับข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไขโดยการ
1) ประชุมแกนนำในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีตัวขับเคลื่อน 6×2 (การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีย์)
3) จัดทำสมุดบัญชีครัวเรือนให้ครบทุกครัวเรือน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านให้งบประมาณในการจัดทำเอกสาร
การปรึกษาหารือ
นำข้อมูลที่ได้มาหาทางออกด้วย ร่วมกันปรึกษาหารือกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และหาข้อยุติของปัญหา เป็นการสร้างความเข้าใจและยอมรับในสภาพปัญหาร่วมกัน ตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อตัดปัญหาในขณะปฏิบัติงาน โดยผู้มีส่วนในการสนับสนุน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต.
หาข้อยุติ
เป้าหมายความสำเร็จของงาน คือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน ครัวเรือน หน่วยงานภาคีพัฒนาเกิดการยอมรับในแนวทางของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชี้แจงการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้รับทราบ เมื่อมีการประชุมชี้แจง สร้างความรู้ความเข้าใจตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการยอมรับ และตัดสินใจที่เข้าร่วมในการจัดทำแผนแก้ปัญหาความยากจน ด้วยความสมัครใจ ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
สร้างความพึงพอใจ
สร้างความพอใจด้วยการเสนอทางออกที่สร้างความหวังที่เกิดขึ้นจริง และทางออกที่สามารถปฏิบัติได้ ทำให้ชุมชนเกิดการยอมรับ และมีการวางแผนในการแก้ปัญหาความยากจนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
งานสัมฤทธิ์ผล
สร้างการมีส่วนร่วม ในการคิด ตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมรับผิดชอบ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน ทำให้ครัวเรือนมีการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นความสำเร็จและภาคภูมิใจในการทำงานแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน
กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
– หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
– แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ปี 2559 จำนวน 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
– ตัวชี้วัด 6×2 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านโนนบ้านใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร