การจัดการความรู้เรื่อง : การพัฒนาหมู่บ้านสู่ความพอเพียง
โดย : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
*********************************************************************************
ความเป็นมา
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน เราต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งเรื่องดีและไม่ดี บางเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวเราโดยตรง บางเรื่องเกี่ยวข้องโดยทางอ้อม อาจมีผลกระทบต่อตัวเราไม่มากก็น้อย สิ่งที่เราต้องตั้งคำถาม ก็คือ เราจะใช้ชีวิตอยู่ย่างไรให้รอดพ้นและปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต และจะพัฒนาตนเองอย่างไรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เราสามารถอยู่ได้ในทุกๆสถานการณ์ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว คำตอบที่ดีที่สุดและข้าพเจ้าก็เชื่อมั่นว่าสิ่งที่จะนำพาเราสู่การดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีชีวิตที่ปลอดภัย ก็คือการน้อมนำเอา “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้กับการดำรงชีวิตในทุกๆด้าน โดยการเริ่มทำจากสิ่งที่เราสามารถ ทำเองได้ ทำได้ง่าย และทำได้จริง ให้เห็นผลที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันเราก็ขยายผลให้สมาชิก ในครอบครัวได้เชื่อมั่นในการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยเฉพาะการดำรงชีวิตในทางสายกลางที่สมดุล คือ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันภายใต้เงื่อนไขของความรู้ และคุณธรรม ที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ของการดำรงชีวิตแบบพอเพียงอย่างแท้จริง
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของคนทุกระดับ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนเองให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความ รอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
วิธีการพัฒนาหมู่บ้านโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- 1. ค้นหาความเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีหมู่บ้าน สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต
- 2. วิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน ซึ่งจะทำให้รู้สถานภาพ รู้สาเหตุของปัญหา รู้ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รู้ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ข้อนี้สำคัญ เพราะจำให้เราเลือกกิจกรรมที่จะดำเนินการได้เหมาะสมกับบริบทของหมู่บ้าน 2.3. วางแผนการดำเนินชีวิต
3.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง ฝึกสร้างวินัยกับตนเอง โดยเฉพาะวินัยทางการเงิน
3.2 สร้างนิสัยที่มีความคิดก้าวหน้ามุ่งมั่นในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
แก้ปัญหา เป็นระบบชุมชนแก้ปัญหาชุมชน โดยใช้ความรู้ (ที่รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และครอบครัว
3.3 ควบคุมจิตใจให้ตนเอง ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์ ความเจริญรุ่งเรือง โดยใช้หลักศาสนา
3.4 ปรับทัศนคติของสมาชิกในหมู่บ้านในเชิงบวก และมีความเป็นไปได้
3.5 ส่งเสริมการจดบันทึกและทำบัญชีรับ – จ่าย
3.6 ประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.การรู้จักวิเคราะห์หมู่บ้านเพื่อให้รู้จักตนเอง สามารถเลือกแนวทางการพัฒนาในสิ่งที่เหมาะสมได้อย่างสมดุล ถูกต้อง และไม่เบียดเบียนผู้อื่น จากนั้นก็คือการลงมือปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิต
2.เมื่อเจออุปสรรค ปัญหา ให้มีความอดทนอย่าท้อแท้ คิดเสียว่าสิ่งที่ขาดทุนไปนั้นคือกำไร ร่วมมือภาคีเครือข่ายในการพัฒนา