ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านนาสะไมย์ หมู่ 13
๑. กระติบข้าว
การจัดการ
จัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2542 เป็นการรวมกลุ่มอาชีพจักสานของแต่ละหมู่บ้าน ให้ชัดเจนขึ้นจากเดิมที่ต่างคน
ต่างทำ โดยเปิดรับสมาชิกจากทุนหมู่บ้านในตำบล ทั้ง 13 หมู่บ้าน แล้วสมาชิกลงหุ้นกันหุ้นละ 10 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน
หุ้น แล้วนำเงินหุ้นมาบริหารจัดการดังนี้ 1. ให้สมาชิกยืมไปลงทุนซื้อวัตถุดิบในการจักสาน(ไม้ไผ่) 2. จัดตั้งร้านค้าศูนย์สาธิตการตลาด 3. ปันผล 3 เดือน/ครั้ง แก่สมาชิก 4. มีการประชุมสมาชิกเดือนละ 2 ครั้ง
๒. มวยซิ่ง
ประวัติ
“มวย” เป็นเครื่องจักสาน ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียว เช่นเดียวกับหวดเดิม ชาวบ้านทุ่งแต้ จะสานกระติบ และมวย ซึ่งวันหนึ่งจะได้ 6 ใบเฉลี่ยเดือนละ 100 ใบ ต่อครอบครัว ลวดลายที่ใช้สาน เช่น ลายสองยืน ลายขัดเสริม 3 ชั้น จะทำให้หนา ขอบหวายหรือลวด ส่วนใหญ่จะใช้หวายเพราะทนทานส่วนลวดจะขาดเร็ว
ในอดีตหมู่บ้านทุ่งแต้จะสานกระติบข้าว แต่ช่วงหลังเปลี่ยนแปลง เพราะไม้ไผ่หายาก โดยเฉพาะการสานกระติบ จะต้องใช้ไม้ปล้องยาว ถ้าอายุต่ำกว่าขวบปี จะทำยาก และการสานกระติบข้าวมีการทำกันมากในแต่ละหมู่บ้าน วัสดุที่ใช้ไม้ไผ่ซื้อมาจากรถที่นำมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งจะใช้ไม้ไผ่อายุ 1 ปี ถ้าไม้แก่มากจะทำยากเปราะ
วิธีการทำ
จะนำไม้ไผ่มาเลื่อยออกเป็นปล้อง ๆ แล้วผ่าเป็นชิ้น ๆ จักเป็นตอกบาง ๆ โดยใช้เหล็กขูดตอก ซึ่งเร็วบางอ่อนเสมอ ไม่เหมือนใช้มีดจักตอกในสมัยโบราณไม้ไผ่ 1 ลำจะได้มวย 20-50 ใบ ไม้ไผ่ลำละ 70-80 บาท แต่ในหมู่บ้านจะแบ่งงานทำความความถนัด ความสามารถ เช่น การสานตัวมวย ใบละ 1 บาท ใส่ขอบใบละ 2 บาท การก่อตัวมวยจะให้แม่บ้านก่อให้ (มวยจะมี 3 ชั้น)
มวยจะมีขนาดมาตรฐาน 1 ศอก (ฟุตเศษ) ไม้ไผ่ 1 ปล้องจะได้ 2-3 ฝา (2 ฝาเท่ากับ 1 ลูก) ไม้ไผ่จะใช้ไม้ไผ่ใหญ่ (ไม้ไผ่บ้าน)
๓. เครื่องทองเหลือง
วัสดุที่ใช้ผลิตและแหล่งที่มา
บางส่วนนำมาจากของเก่าที่ใช้แล้ว จำพวกทองแดง โลหะต่าง ๆ ที่นำมาใช้ได้จากร้านของเก่า มีบางส่วนที่ต้องซื้อมาจากกรุงเทพฯ เป็นทองเหลืองผสมเสร็จ
วิธีทำ
ขั้นตอนในการทำ เริ่มจากนำเอาแบบของสินค้าที่ต้องการมาทำแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ ทำด้วยอะลูมิเนียม แล้วนำเอาแม่พิมพ์มาทำบล๊อก บล๊อกต้องทำ ๒ ตัว คือ บล๊อกนอกและบล๊อกภายใน เรียกว่า โค้ เอาโค้ตั้งบนเบ้าหรือบล็อกนอกทำทางให้ทองไหลไปเชื่อมกันได้
การหล่อทองเหลือง จะเอาทองเหลืองใส่ในเบ้า ขนาดของเบ้าตั้งแต่บรรจุ ๓๕๐-๑๐๐๐ กิโลกรัม ความร้อนในการหลอมแต่เดิมเอามาจากถ่านหรือฟืน แต่ปัจจุบันใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ซื้อมาจากร้านถ่ายน้ำมันเครื่อง ถัง ๒๐๐ ลิตรราคาประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ บาท ใช้เวลาหลอม ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที เมื่อหลอมแล้ว จะเทใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้เมื่อเย็นแล้วทุบพิมพ์ในออกแล้วจึงนำมากลึงและขัดเงา ระยะเวลาในการผลิตแล้วแต่ลูกค่ารีบเร่งเพียงใด
การประยุกต์ใช้
เดิมหล่อกระดิ่งวัวควายก่อน แล้วพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันหล่อพวกเครื่องสังฆภัณฑ์เป็นหลัก เพราะมีแหล่งจำหน่ายมาก
การลงทุน
สินค้าที่ทำขึ้นส่วนมากทำเพื่อจำหน่ายตามลูกค้าสั่ง
ที่มาของข้อมูล
ชื่อ | นายสมพงษ์ เจริญคุณ |
เกิด | วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ |
ที่อยู่ | ๘๘ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร |
การศึกษา | ประถมศึกษาปีที่ ๔ |
อาชีพ | หล่อเครื่องทองเหลือง |
๔. หมอนขิด
การลงทุน
๑. ทางร้านเตรียมอุปกรณ์ เช่น ผ้า ด้าย ทุกชนิดมาเก็บไว้ ชาวบ้านที่จะทำ จะมาลงบัญชีอุปกรณ์ไว้ เมื่อเย็บเสร็จยัดเสร็จ จะส่งหมอนโดยคิดราคาส่ง บวกลบกลบหนี้
๒. ชาวบ้านจะนำหมอนมาส่งขายโดยอุปกรณ์จะซื้อเองทั้งหมด
๓. ชาวบ้านบางคนก็ไปรับจ้าง เช่น ชำนาญในการเย็บตัวหมอน รับยัดนุ่นรับสอยหน้า-หลังหมอน รับมัดไส้หมอน เป็นต้น
จำนวนหมอนที่เย็บได้ในหมู่บ้าน เฉพาะร้านเดียว เดือนละ ๔ หมื่นชิ้น เฉลี่ย ๕ พันลูกต่อเดือน เพราะถ้าช่วงทำนา เกี่ยวข้าว ร้านต้องกักตุนหมอน และห้ามลูกค้าสั่งสินค้ามาก
ชาติที่มาติดต่อคือ ญี่ปุ่น สั่งมา ๑,๐๐๐ ชุด (หมอนขวาน ๒ ที่นั่ง ๒ พับ) ลงเรือแล้ว (ปี ๒๕๔๑) อังกฤษเริ่มเข้ามาติดต่อบ้าง
หมอนขวานศรีฐาน ยังเป็นแค่อุตสาหกรรมในครัวเรือน ระบบตลาดยังไม่ดี
ผ้าที่ใช้
เดิม ผ้าไส้ ทำจากผ้าคลุมพระจะนำมาซักใหม่
ปัจจุบัน ผ้าไส้ได้มาจากโรงงาน โดยใช้ผ้าทำมุ้ง เพราะหูกหนึ่งจะใช้เวลา ๑ เดือนไม่พอเพียงและมือไม่เสมอ ลายไม่ค่อยสวย
ปัจจุบันให้โรงงานทอผ้าขิด ลายจะยากแค่ไหนใช้คอมพิวเตอร์ แยกลายได้เลย ทอเร็วได้มาก ลายเสมอ สวยงาม
๕. พระพุทธรูปไม้แกะสลัก
๖. การทำเกวียนสาน
วัสดุอุปกรณ์
วัสดุที่ใช้ทำ มีทั้งไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้แคน (ตะเคียน) แหล่งไม้จะหามาเองตามธรรมชาติหรือหาซื้อมาเองซื้อมาเอง ราคาซื้อไม้ต้นละประมาณ 1 หมื่นบาท ใช้ทั้งลำต้น ต้นหนึ่งพอลำเกวียน 1 ลำ อุปกรณ์ในการทำเกวียน จะทำขึ้นทั้งหมด โดยการตีเหล็กเอง เช่น กบ ก็มีหลายขนาน สิ่วก็มีหลายขนาด ฆ้อนในการแกะสลักจะเป็นฆ้อนไม้ การตัดไม้ต้องใช้เลื่อยมือไม่ใช้เลื่อยไฟฟ้าเพราะเนื้อไม้จะแตก
วิธีทำ ระยะเวลาในการทำ
การทำเกวียนเริ่มจากนำไม้มาตัดส่วนประกอบต่าง ๆ แล้วจึงนำไปสลักลวดลาย แล้วจึงนำไปประกอบเป็นลำเกวียนซึ่งจะใช้สลักตอกแทนตะปู บางส่วนใช้ลวดลายหรือหวายมัดแต่นิยมใช้หวาย ขอบล้อจะใช้เหล็กหุ้มโดยใช้ความร้อนเผาตอกเข้ากับขอบล้อ เวลาทำแต่ละลำไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่เกิน 3 เดือน ลายที่นิยมแกะสลักบนเกวียน มีลายเม็ดข้าวสาร ลายกนก ลายดอก ลายย้อย ลายเครือ การแกะลายบนเกวียนจะมีการกะระยะทำเป็นช่วง ๆ จุด ขนาดของเกวียน ขนาดของเกวียน ไม่จำเพาะแน่นอน ทั่ว ๆ ไป ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 4.2 เมตร ขนาดกว้างยาวแล้วแต่ลูกค้าสั่งๆ ไม่มีแบบแผนตายตัว ทุกอย่างจดจำและดัดแปลงตามความเหมาะสม และตามที่ลูกค้าต้องการ
การประยุกต์ใช้
จุดประสงค์เดิมของการทำเกวียน เพื่อใช้เป็นพาหนะเดินทาง ขนสิ่งของต่าง ๆ แต่ทุกวันนี้ทำเพื่อโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การค้า จึงทำให้มีการทำเกวียนขนาดเล็ก เดิมทีเดียวทำขนาดเล็ก ๆ เพื่อเป็นของเล่น แต่ต่อมามีการพัฒนาผลิตตามสั่งลูกค้า
๗. กล่องทิชชู่ไม้ไผ่